Last updated: 28 มี.ค. 2568 | 112 จำนวนผู้เข้าชม |
หากพูดถึงเบรกมือ แม้ว่าจะไม่ถูกใช้งานบ่อยครั้งเท่ากับเบรกเท้า แต่บทบาทของเบรกมือถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อต้องการจอดรถบนพื้นที่ลาดชันหรือในกรณีฉุกเฉินที่ระบบเบรกหลักทำงานผิดปกติ การเข้าใจถึงวิธีการใช้และดูแลรักษาเบรกมืออย่างถูกต้องไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ แต่ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของรถยนต์อีกด้วย
ในบทความนี้ APRTECH จะพามาเจาะลึกเกี่ยวกับระบบเบรกมือรถยนต์ว่าคืออะไร มีกี่ประเภท รวมถึงวิธีการใช้งานและข้อควรระวังเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้งานผิดวิธี
สำหรับใครที่มีรถหลายคัน อาจเคยสังเกตว่าระบบเบรกมือรถมีลักษณะต่างกันไป เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการออกแบบระบบเบรกมือไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานมากขึ้น ซึ่งเบรกมือสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
เบรกมือคันโยก เป็นเบรกมือรถยนต์รูปแบบดั้งเดิมที่พบในรถรุ่นเก่า ๆ มีลักษณะเป็นคันโยกที่ใช้ในการดึงเพื่อล็อกเบรก ทำงานโดยการดึงสายเคเบิลที่เชื่อมต่อกับกลไกเบรกที่ล้อหลัง ซึ่งจะทำให้ผ้าเบรกกดเข้ากับจานเบรกหรือดรัมเบรก ทำให้ล้อหยุดหมุน
เบรกมือแบบสวิตช์ หรือเบรกมือไฟฟ้า เป็นระบบเบรกที่พัฒนาขึ้นสำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีข้อดีคือมีความสะดวกสบายและความเสถียรในการใช้งานมากกว่า เพียงกดปุ่มและดึงสวิตช์ขึ้น โดยเมื่อใช้งานเบรกมือรถประเภทนี้จะมีไฟขึ้นที่สัญลักษณ์ P บริเวณปุ่มกด
หลายครั้ง ๆ การใช้เบรกมือ โดยเฉพาะเบรกมือคันโยกแบบดั้งเดิม ผู้ใช้งานจำเป็นต้องขึ้นและปลดเบรกให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อระบบเบรกในระยะยาว โดยวิธีการใช้เบรกมือแต่ละประเภทให้ถูกต้องควรปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้
แบบคันโยก: ผู้ขับขี่ต้องดึงคันโยกขึ้นจนสุด หรือจนได้ยินเสียงกลไก 'แกร๊ก' เพื่อให้มั่นใจว่าสายสลิงที่ใช้ดึงรั้งระบบเบรกทำงานได้อย่างแม่นยำ หากดึงเบรกมือขึ้นไม่สุด อาจทำให้รถเลื่อนไหลได้ โดยเฉพาะหากจอดในบริเวณเนินที่ลาดชัน
แบบปุ่มกด: เพียงผู้ขับขี่กดปุ่มหรือดึงสวิตช์ขึ้น ระบบเบรกมือไฟฟ้าก็จะทำงานโดยอัตโนมัติ โดยจะมีสัญญาณไฟแสดงสถานะบนหน้าปัดรถ
แบบคันโยก: หากต้องการปลดเบรกมือจะต้องกดปุ่มบนตัวเบรกแล้วใช้มือลดคันโยกลงจนสุด หากปลดเบรกมือลงไม่สุด อาจทำให้ผ้าเบรกเสียดสีกับจานเบรกหรือดรัมเบรกระหว่างขับขี่ จนทำให้เกิดความร้อนสูงและส่งผลให้ระบบเบรกเสียหายได้
แบบปุ่มกด: การปลดเบรกมือไฟฟ้าสามารถทำได้โดยการกดปุ่มหรือสวิตช์อีกครั้ง อีกทั้งยังสามารถปลดเบรกอัตโนมัติเมื่อเข้าเกียร์ D หรือเกียร์ R และเหยียบคันเร่ง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการปลดเบรกไม่สุดได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับเบรกมือคันโยก
เนื่องจากเบรกมือเป็นระบบเบรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น หากใช้งานในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดอันตรายได้มากกว่าที่คิด จึงมีข้อควรระวังในการใช้งานดังนี้
เบรกมือรถจะทำหน้าที่หยุดเฉพาะเพลาล้อหลังเท่านั้น หากดึงเบรกในขณะที่รถยังวิ่งด้วยความเร็วสูงอาจทำให้รถเกิดการสะบัดซึ่งจะทำให้เสียการควบคุมและเป็นอันตรายต่อรถคันอื่น ๆ บนท้องถนน
แม้ว่าเบรกมือจะช่วยให้รถหยุดได้ทันที แต่หากเกิดอุบัติเหตุบนพื้นที่ลื่น เช่น ถนนที่ฝนตกหรือมีน้ำขัง การดึงเบรกมือกะทันหันอาจทำให้รถเสียการทรงตัวและลื่นไถลได้มากขึ้น ดังนั้น จึงควรใช้เกียร์ต่ำเพื่อชะลอความเร็ว ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยได้
หากไม่ปลดเบรกมือรถยนต์ หรือปลดไม่สุด จะเกิดแรงต้านบริเวณล้อหลัง ทำให้การเร่งรถยากขึ้น นอกจากนี้ ผ้าเบรกจะสัมผัสกับจานเบรกตลอดเวลา ทำให้สึกหรอเร็วขึ้น และยังอาจเกิดความร้อนสะสมจนทำให้ระบบเบรกเสียหายได้
การจอดรถบนทางลาดชันต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้รถไหลและก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ สำหรับรถเกียร์ธรรมดา หากจอดรถบนทางลาดขึ้น ควรเข้าเกียร์ 1 เพื่อให้รถไปในทิศทางข้างหน้าและดึงเบรกมือ ส่วนหากจอดบริเวณทางลาดลง ควรเข้าเกียร์ R หรือเกียร์ถอยหลัง และดึงเบรกขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงที่รถจะไหลลงด้านล่าง หรือหากเป็นรถเกียร์อัตโนมัติ ให้เหยียบเบรก เข้าเกียร์ N และดึงเบรกมือเพื่อให้รถหยุดนิ่ง ก่อนจะเปลี่ยนเป็นเกียร์ P และดับรถ
ก่อนการเดินทางทุกครั้ง ควรตรวจสอบระบบเบรกมือให้ละเอียดว่า มีอาการหลวมหรือผิดปกติหรือไม่ รวมถึงระบบอื่น ๆ ในรถยนต์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระบบเครื่องยนต์ ระบบช่วงล่าง และระบบแบตเตอรี่ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบไฟฟ้าและการทำงานของรถยนต์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุไม่คาดฝันระหว่างเดินทาง
ระบบต่าง ๆ ในรถยนต์มีความสำคัญอย่างมากต่อความปลอดภัยในการขับขี่ โดยเฉพาะระบบแบตเตอรี่ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนระบบไฟฟ้าภายในรถ การจอดรถไว้นาน ๆ หลายคนอาจเข้าใจว่าจะช่วยลดการสึกหรอของรถยนต์ แต่ในความเป็นจริง นอกจากจะทำให้ส่วนต่าง ๆ เช่น น้ำมันเครื่องและยางรถยนต์เสื่อมสภาพได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้แบตเตอรี่คายประจุอยู่เรื่อย ๆ จนเกิดปัญหาในการสตาร์ทรถไม่ติด หรือทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ รวมถึงอาจส่งผลต่อระบบไฟฟ้าภายในรถ ดังนั้น เครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถจึงเป็นไอเทมสำคัญที่ควรมีติดบ้านสำหรับคนรักรถ เพราะการชาร์จแบตเตอรี่ด้วยเครื่องชาร์จฯ จะช่วยรักษาระดับประจุไฟให้เต็มอยู่เสมอ ช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ให้มีอายุการใช้งานยาวนานเต็มประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องนำรถออกไปขับวนให้เปลืองน้ำมัน
แต่การดูแลรักษาแบตเตอรี่นั้น ไม่ใช่ว่าจะใช้เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ยี่ห้ออะไรก็ได้ เพราะเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีคุณภาพอาจทำให้แบตเตอรี่และระบบไฟฟ้าของรถเสียได้ ต้องเลือกใช้เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ที่ได้รับการรับรองจากผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำเท่านั้น ซึ่งก็คือเครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถ CTEK จากสวีเดนที่ได้รับความไว้วางใจผลิตเครื่องชาร์จแบตฯ ให้กับรถยนต์ชั้นนำมากที่สุดในโลก เช่น Mercedes-Benz, Porsche, Rolls-Royce, Lamborghini, Ferrari, McLaren, Bentley, Maserati, BMW, Mini, Audi, Jaguar, Lexus, Koenigsegg, Chrysler, Jeep และอื่น ๆ อีกมากมาย
โดยรุ่นที่แนะนำคือ CTEK MXS 5.0 เครื่องชาร์จที่เหมาะกับทั้งรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ รวมถึงแบตเตอรี่ 12V ของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) คุณสมบัติเด่น:
- กระแสชาร์จสูงสุด 5A
- เหมาะสำหรับแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด 12V ขนาด 1.2 - 110Ah
- ใช้งานง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านช่างก็สามารถใช้งานได้
- รุ่นขายดีที่สุดในปัจจุบัน รับประกัน 5 ปี
- ชาร์จเต็มแล้วตัดไฟอัตโนมัติ
- มีระบบเลี้ยงไฟ คอยเติมไฟอัตโนมัติ สามารถชาร์จทิ้งไว้ได้เป็นเดือน
รถที่จอดทิ้งนานควรชาร์จด้วย CTEK อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง หรือชาร์จทิ้งไว้เลย เพื่อให้รถคันโปรดของคุณพร้อมใช้งานเสมอ แม้ไม่ได้ขับออกไปไหนบ่อย ๆ สั่งซื้อเลยวันนี้!
27 มี.ค. 2568
25 ก.พ. 2568
27 มี.ค. 2568