10 อันดับถนนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีที่ไหนบ้าง

Last updated: 30 ก.ย. 2567  |  4905 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หากพูดถึงการเดินทาง "ถนน" ถือเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ๆ ในการเดินทาง เนื่องจากไม่ว่าจะเดินทางไปสถานที่ไหน ก็จำเป็นต้องศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทางทั้งนั้น ซึ่งทราบหรือไม่ว่าถนนที่ใช้เดินทางในแต่ละวันนี้ หรือถนนแต่ละเส้นที่ขับผ่านกัน มีถนนเส้นไหนเป็นถนนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย จะเป็นถนนที่เรารู้จักหรือคุ้นเคยไหม วันนี้ APRTECH แนะนำ 10 อันดับ ถนนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีถนนเส้นไหนบ้าง ไปทำความรู้จักพร้อม ๆ กันเลย!


1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)


ความยาวโดยประมาณ: 1,310.55 กิโลเมตร

ถนนเพชรเกษมเป็นถนนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สมัยก่อนถนนเพชรเกษมอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง การนับกิโลเมตรที่ 0 เริ่มที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หัวมุมถนนดินสอ ข้ามสะพานพุทธไปถึงเขตหนองแขม ก่อนต่อเข้าเขตจังหวัดสมุทรสาคร ต่อมากรมทางหลวงโอนถนนเพชรเกษมช่วงนี้ให้กับสำนักการโยธา กรุงเทพมหานครดูแลแทน จึงมีการเปลี่ยนกิโลเมตรที่ 0 มาที่สะพานเนาวจำเนียร ข้ามคลองบางกอกใหญ่ มุ่งหน้าสู่เขตหนองแขม ผ่าน อ.อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร  ไปสิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา ซึ่งเป็นเขตแดนไทย - มาเลเซีย

โดยถนนเดิม ชื่อว่า “ถนนพิบูลสงคราม” ตามชื่อของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ถนนเพชรเกษม” เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์ (แถม เพชรเกษม) ผู้รับผิดชอบงานสร้างถนนเส้นนี้แทน

 

2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน)


ความยาวโดยประมาณ: 994.749 กิโลเมตร

ถนนพหลโยธิน เป็นถนนสายหลักในกรุงเทพมหานครมุ่งเข้าสู่ภาคเหนือ โดยเริ่มกิโลเมตรที่ 0 ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผ่านภาคกลางขึ้นไปสิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย บริเวณชายแดนประเทศเมียนมา เมื่อดูจากระยะทางจึงนับว่าเป็นหนึ่งในถนนที่ยาวที่สุดในไทย แต่ถนนพหลโยธินช่วงตั้งแต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นต้นไป เส้นทางของถนนจะเบี่ยงไปทางทิศตะวันออก ผ่านลพบุรีและสระบุรี แล้ววกกลับมาที่ชัยนาท เพราะในสมัยก่อนต้องการให้ถนนเส้นนี้ผ่านค่ายทหารที่สำคัญในเวลานั้น เพื่อความสะดวกในการเรียกกำลังพล ในช่วงที่ต้องมีการสู้รบเกิดขึ้น

 


 

3.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12

 

ความยาวโดยประมาณ: 771.123 กิโลเมตร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เป็นถนนยาวที่สุดในไทยรองลงมาจากถนนเพชรเกษม และถนนพหลโยธิน ซึ่งทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 นี้เป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเริ่มต้นที่สะพานมิตรภาพไทย - พม่า อ.แม่สอด จ.ตาก ไปสิ้นสุดที่ อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร 
ถนนเส้นนี้รัฐบาลวางแผนให้เป็นถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก เชื่อมระหว่างเมืองเมาะลำเลิง ประเทศเมียนมา และเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นทางหลวงสายเอเชีย ได้แก่ ทางหลวงเอเชียสาย 1, ทางหลวงเอเชียสาย 13 และทางหลวงเอเชียสาย 16 อีกด้วย

 

4. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11


ความยาวโดยประมาณ: 562.673 กิโลเมตร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สายอินทร์บุรี - เชียงใหม่เป็นถนนยาวที่สุดในประเทศไทยรองลงมาจากถนนเพชรเกษม, ถนนพหลโยธิน และทางหลวงหมายเลข 12 เชื่อมการเดินทางระหว่างภาคกลางและภาคเหนือของไทย เริ่มต้นที่ทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ใน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ไปบรรจบที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

โดยเส้นทางหลวงสายนี้ไม่ติดต่อกันเหมือนถนนทางหลวงสายอื่น ๆ นั่นก็เป็นเพราะการก่อสร้างในระยะเวลาที่แตกต่างกันเป็นช่วง ๆ ในแต่ละจุด เมื่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สร้างเสร็จ ถนนเส้นนี้ยังช่วยแบ่งเบาการจราจรที่หนาแน่นบนถนนพหลโยธินไปยังเชียงรายได้อีกด้วย 

 

5. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)


ความยาวโดยประมาณ: 509 กิโลเมตร

ถนนสายหลักมุ่งสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นถนนหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย ประกอบด้วยถนนมิตรภาพ, ถนนสุขุมวิท, ถนนพหลโยธิน และถนนเพชรเกษม จุดเริ่มต้นกิโลเมตรที่ 0 เริ่มที่ จ.สระบุรี สิ้นสุดที่ อ.เมือง จ.หนองคาย และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 12 

ถนนมิตรภาพเป็นทางหลวงที่ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ในด้านงบประมาณและเทคนิคในการก่อสร้าง ส่วนการออกแบบและก่อสร้างอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมทางหลวง จึงนับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวง เพื่อเป็นการแสดงถึงมิตรภาพของไทยกับสหรัฐฯ จึงตั้งชื่อว่า “ถนนมิตรภาพ”


6. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท)


ความยาวโดยประมาณ: 488.387 กิโลเมตร

ถนนสุขุมวิทเป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสายประธานทั้งสี่ของไทย เชื่อมต่อจากกรุงเทพฯ ไปยังภูมิภาคหลักในประเทศไทยทั้งภาคเหนือ, ภาคใต้, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก โดยถนนสุขุมวิทเป็นถนนสายที่มุ่งหน้าสู่ภาคตะวันออกเลียบตามชายฝั่งทะเล เริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปทางทิศตะวันออก แยกใต้ทางด่วนเพลินจิตในกรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนใน อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ติดกับชายแดนประเทศกัมพูชา 

ถนนเส้นนี้ เดิมมีชื่อว่า “ถนนกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ” เชื่อมต่อจากเพลินจิตไปสิ้นสุดที่ปากน้ำ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “ถนนสุขุมวิท” เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิท อดีตอธิบดีกรมทางหลวงของไทย

 

 

7. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24


ความยาวโดยประมาณ: 420.94 กิโลเมตร

ทางหลวงสายสำคัญที่เปิดประตูสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง แยกออกมาจากถนนมิตรภาพ โดยจุดเริ่มต้นกิโลเมตรที่ 0 ที่ทางต่างระดับสีคิ้ว จ.นครราชสีมา ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ไปสิ้นสุดที่ถนนอุปราช จ.อุบลราชธานี และเป็นถนนสายหลักที่ใช้เชื่อมต่อไปยังประเทศลาวและกัมพูชาอีกด้วย

8. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41


ความยาวโดยประมาณ: 382.616 กิโลเมตร

ถนนสายนี้เป็นทางหลวงแผ่นดินสายหลักของภาคใต้ และเป็น 1 ใน 10 อันดับ ถนนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มต้นจากแยกปฐมพรบนถนนเพชรเกษม จ.ชุมพร ลงใต้ผ่านสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชและสิ้นสุดที่ อ.เมือง จ.พัทลุง ทางหลวงนี้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 ตลอดทั้งสาย

 

9. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22


ความยาวโดยประมาณ: 240.746 กิโลเมตร

ถนนนี้รู้จักกันในชื่อ “ถนนนิตโย” ถนนสายหลักทอดยาวเริ่มต้นตั้งแต่ห้าแยกวงเวียนน้ำพุ จ.อุดรธานี ผ่านสกลนคร สิ้นสุดที่ถนนสุนทรวิจิตร จ.นครพนม และถนนเส้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 15

เดิมมีชื่อเรียกว่า “ทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี - ธาตุนาเวง - นครพนม” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ถนนนิตโย” เพื่อเป็นเกียรติแก่นายโสภณ นิตตะโย อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางชุมแพ

 

10. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32


ความยาวโดยประมาณ: 150.545 กิโลเมตร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 เป็นที่รู้จัก ในฐานะส่วนหนึ่งของถนนสายเอเชีย เริ่มต้นจากถนนพหลโยธินและถนนกาญจนาภิเษก ที่ทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1 ใน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เข้าสู่อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท และสิ้นสุดที่ถนนพหลโยธิน ใน จ.นครสวรรค์ ปัจจุบันเป็นเส้นทางสำคัญที่ใช้เดินทางสู่ภาคเหนือ


การขับรถบนถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทยเหล่านี้ ต้องมีการเตรียมพร้อมเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของแบตเตอรี่รถ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของรถยนต์ทุกคัน เพราะคุณคงไม่อยากให้แพลนที่วางแผนมาอย่างดิบดี ต้องสะดุดลง หากเกิดเหตุการณ์รถสตาร์ทไม่ติด แบตเตอรี่หมด เพราะจอดรถทิ้งไว้นานเกิน ต้องเสียเวลาตามช่าง ทำให้แผนการเดินทางล่าช้า เสียทั้งเวลาและเงินโดยใช่เหตุ

 

ชาร์จแบตฯ รถด้วย CTEK ก่อนขับรถเที่ยวบนถนนที่ยาวที่สุดในไทย

 

 

ก่อนออกเดินทาง ชาร์จแบตฯ ให้พร้อมด้วยเครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถ CTEK ช่วยชาร์จแบตเตอรี่ให้พร้อมใช้งานก่อนออกเดินทาง สามารถเสียบชาร์จทิ้งไว้ได้เป็นเวลานาน และยังเป็นแบรนด์ที่ได้รับความไว้วางใจผลิตเครื่องชาร์จแบตฯ ให้กับรถยนต์ชั้นนำมากที่สุดในโลก เช่น Mercedes-Benz, Porsche, Rolls-Royce, Lamborghini, Ferrari, McLaren, Bentley, Maserati, BMW, Mini, Audi, Jaguar, Lexus, Koenigsegg, Chrysler, Jeep และอื่น ๆ อีกมากมาย

รุ่นที่แนะนำคือ CTEK MXS 5.0 เครื่องชาร์จที่ใช้ได้ทั้งรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และรถยนต์ไฟฟ้า (EV) มาพร้อมกับคุณสมบัติเด่น ๆ 

- กระแสชาร์จสูงสุด 5A
- เหมาะสำหรับแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด 12V ขนาด 1.2 - 110Ah
- ใช้งานง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านช่างก็สามารถใช้งานได้
- รุ่นขายดีที่สุดในปัจจุบัน

ทริปไหนก็ไม่ล่ม แค่ชาร์จแบตเตอรี่รถก่อนการเดินทาง สั่งซื้อ CTEK เลยวันนี้!


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้