ใบขับขี่ มีกี่ประเภท แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร?

Last updated: 20 ธ.ค. 2567  |  146 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 

ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์เปรียบเสมือนหนังสือรับรองความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะประเภทต่าง ๆ ที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งถือเป็นเอกสารสำคัญที่ผู้ขับขี่ทุกคนจำเป็นต้องมีตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัวสอบใบขับขี่ หรือต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตขับขี่ APRTECH ได้รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นว่า ใบขับขี่ มีกี่ประเภท และขั้นตอนการทำใบขับขี่อย่างละเอียด


ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ หรือ ใบขับขี่ มีกี่ประเภท?

ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ คือ ใบอนุญาตรับรองว่าบุคคลนั้น ๆ มีประสิทธิภาพในการขับขี่ โดยประเภทของใบขับขี่จะแบ่งตามลักษณะการใช้งานและลักษณะของยานพาหนะได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ใบอนุญาตขับขี่ประเภทส่วนบุคคล (ใบขับขี่ประเภท บ.)

ใบอนุญาตประเภทนี้ใช้สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล รวมถึงสามารถใช้เคลื่อนย้าย หรือทำการขนส่งเพื่อการค้า (เฉพาะธุรกิจส่วนตัว) แต่จำกัดน้ำหนักการขนส่งไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม และต้องไม่ใช่การรับจ้าง ลักษณะของใบขับขี่ประเภทนี้จะเป็นรถที่มีสีทะเบียนรถพื้นสีขาว ตัวเลขและตัวอักษรสีดำ แบ่งออกเป็น 


  • ใบขับขี่ชั่วคราว ประเภท บ.

ในการไปทำใบขับขี่ครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นรถชนิดใดก็ตาม จะได้รับใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อน มีอายุการใช้งาน 2 ปี สามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป มี 3 ประเภท คือ

- ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว
- ใบขับขี่รถยนต์สามล้อชั่วคราว
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว
  • ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ประเภท บ.

เมื่อใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราวครบอายุการใช้งานแล้ว สามารถนำไปต่ออายุเป็นใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีอายุการใช้งาน 5 ปี ได้

  • ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ประเภท บ.

เงื่อนไขของประเภทใบขับขี่นี้จะคล้ายคลึงกับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล คือ ทำครั้งแรกจะได้ใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อน เมื่อหมดอายุ สามารถต่อเป็นใบขับขี่แบบ 5 ปีได้

  • ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ประเภท บ.

ใบขับขี่ประเภทนี้สามารถทำได้เมื่อมีอายุ 20 ปีขึ้นไป และต้องได้รับใบขับขี่รถจักรยานยนต์แบบชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

  • ใบอนุญาตขับขี่รถระหว่างประเทศ หรือ ใบขับขี่สากล ประเภท บ.

ใบขับขี่สากล เป็นใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ระหว่างประเทศที่ออกให้โดยองค์กรสหประชาชาติ (UN) เพื่อยืนยันว่าบุคคลนั้นมีใบขับขี่ที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศต้นทาง สามารถใช้ได้ในประเทศที่ยอมรับใบขับขี่สากล ซึ่งไม่มีการกำหนดอายุขั้นต่ำในการทำ แต่ต้องมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลมาแล้ว และมีสำเนาหนังสือเดินทางประกอบ จึงจะสามารถยื่นเรื่องทำใบขับขี่สากลได้ โดยใบขับขี่ประเภทนี้มีอายุ 1 ปี


 

2. ใบอนุญาตขับขี่ทุกประเภท หรือ สาธารณะ (ใบขับขี่ประเภท ท.)

ใบอนุญาตนี้ใช้สำหรับรถสาธารณะ หรือรถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง สามารถใช้แทนใบอนุญาตขับรถประเภทส่วนบุคคลได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการขับรถรับจ้างหรือรถสาธารณะต่าง ๆ


  • ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ ประเภท ท.

ใบขับขี่สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพขับรถสาธารณะ เช่น แท็กซี่ บริการรถยนต์ส่วนตัว คนขับรถส่งของ ฯลฯ โดยต้องได้รับใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว และสามารถทำได้เมื่ออายุ 22 ปีขึ้นไป

  • ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ ประเภท ท.

ใบขับขี่ประเภทนี้ นอกจากหมายถึงรถสามล้อแล้วยังรวมรถตุ๊กตุ๊กด้วย มีเงื่อนไขว่าต้องทำใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อน เช่นเดียวกับใบขับขี่ของรถยนต์ โดยมีอายุการใช้งาน 5 ปี

  • ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ประเภท ท.

สำหรับคนที่ทำงานเป็นไรเดอร์ ขับรถส่งของ ส่งอาหาร ต้องมีใบขับขี่ประเภทนี้ โดยต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ใบขับขี่ประเภทนี้มีอายุการใช้งาน 3 ปี

  • ใบขับขี่รถบดถนน ประเภท ท.

ในประเภทใบขับขี่นี้ ผู้ขับขี่จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษต่าง ๆ เช่น หลักสูตร กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายว่าด้วยรถยนต์, กฎหมายว่าด้วยทางหลวง, และกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก เพื่อให้สามารถใช้งานรถบดถนนที่มีความอันตรายสูงได้อย่างปลอดภัย โดยใบขับขี่ประเภทนี้สามารถทำได้เมื่อมีอายุ 18 ปีขึ้นไป

  • ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ ประเภท ท.

ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ ผู้ขับขี่จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และใบขับขี่มีอายุการใช้งาน 5 ปี

  • ใบขับขี่รถชนิดอื่น ประเภท ท.

สำหรับผู้ขอขับรถชนิดอื่น ๆ เช่น รถใช้งานเกษตรกรรม เป็นต้น



ใบขับขี่ ประเภท บ. และ ใบขับขี่ ประเภท ท. ต่างกันอย่างไร?

ประเภทของใบขับขี่ทั้ง 2 ประเภทนี้แตกต่างกันที่วัตถุประสงค์การใช้งาน และลักษณะป้ายทะเบียนรถ โดยใบขับขี่ ประเภท บ. จะใช้สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล รวมถึงธุรกิจส่วนตัว ใช้ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ส่วนใบขับขี่ ประเภท ท. จะใช้กับรถรับจ้าง รถสาธารณะ รถใช้งานเฉพาะทาง เช่น รถบดถนน รถใช้งานเกษตรกรรม เป็นต้น ใช้ป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง และใบขับขี่ ประเภท ท. สามารถใช้แทนใบขับขี่ประเภทส่วนบุคคลได้นั่นเอง

ทำอย่างไร เมื่อใบขับขี่หมดอายุ?

เมื่อใบขับขี่หมดอายุ หากเป็นตามระยะเวลาที่กำหนด จะต้องทำการต่อใบขับขี่ไม่เกิน 1 ปี โดยต่อล่วงหน้าได้ไม่เกิน 180 วัน หรือ 6 เดือน แต่ในกรณีที่ใบขับขี่หมดอายุเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้ 

  • กรณีใบขับขี่หมดอายุไม่เกิน 1 ปี 

รวมถึงหมดอายุ 1 เดือนนับตั้งแต่วันหมดอายุ สามารถจองคิวทำใบขับขี่ใหม่ต่อได้โดยไม่ต้องสอบอีกครั้ง ไม่ต้องเสียค่าปรับ มีเพียงการชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุเท่านั้น

  • กรณีใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี 

ผู้ขับขี่ต้องสอบข้อเขียนผ่านระบบ E-exam ใหม่อีกครั้งและต้องทำคะแนนให้ได้ 90% หรือต้องทำให้ได้ 45 ข้อจาก 50 ข้อ หากสอบไม่ผ่านก็ต้องสอบใหม่อีกครั้ง

  • กรณีใบขับขี่หมดอายุเกิน 3 ปีขึ้นไป 

ผู้ขับขี่จำเป็นต้องได้รับการเข้าอบรม และสอบข้อเขียนผ่านระบบ E-exam ใหม่รวมถึงสอบขับรถใหม่ทั้งหมด เสมือนตอนทำใบขับขี่ครั้งแรก

ใบขับขี่หาย ต้องทำอย่างไร?

เมื่อเกิดเหตุการณ์ใบขับขี่หาย สามารถแบ่งประเภทใบขับขี่ได้ 2 ประเภท คือ หากใบขับขี่รถส่วนบุคคลหาย ไม่จำเป็นต้องแจ้งความ สามารถติดต่อที่กรมขนส่งได้ทันทีพร้อมนำบัตรประชาชนตัวจริง หรือเอกสารยืนยันตัวตนที่ทางราชการออกให้ก็สามารถทำใบขับขี่ใหม่ได้ทันที

ส่วนกรณีใบขับขี่รถสาธารณะหาย ต้องเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้นที่ เพราะต้องมีใบแจ้งความเป็นหลักฐานเพื่อทำใบขับขี่ใหม่ที่กรมขนส่ง และต้องนำบัตรประชาชนตัวจริงพร้อมใบแจ้งความที่ลงบันทึกประจำวันมาด้วย เพื่อประกอบการยื่นคำร้องขอทำใบขับขี่ใหม่

 

วิธีจองคิวทำใบขับขี่ออนไลน์ ทำอย่างไร?

ในปัจจุบันการจองคิวทำใบขับขี่เป็นเรื่องง่าย สามารถจองได้ด้วยตนเองผ่านช่องทางออนไลน์ ที่สะดวก รวดเร็ว ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ผู้ขับขี่รายใหม่อาจไม่แน่ใจว่าต้องเริ่มต้นอย่างไร เพียงทำตามขั้นตอนดังนี้

 

1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue

ทำการจองคิวล่วงหน้า โดยเลือกวัน เวลา และสำนักงานขนส่งที่สะดวก สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ซึ่งใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS หรือเว็บไซต์ gecc.dlt.go.th

2. ลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบผ่านแอปพลิเคชัน

ลงทะเบียน กรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อสมัครใช้งานและสร้างรหัสผ่าน ตามด้วยเข้าสู่ระบบ เพียงกรอกเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านลงไป

3. เลือกประเภทต่าง ๆ 

ในขั้นแรกหลังจากเข้าสู่ระบบมาแล้ว ต้องเลือกประเภทงานบริการว่า “งานใบอนุญาต” ตามด้วยการเลือกประเภทใบอนุญาตขับรถ ประเภทยานพาหนะ และประเภทของบริการที่ผู้ขับขี่ต้องการ ต่อมาเลือกวัน เวลาที่ต้องการทำใบขับขี่ สุดท้ายตรวจสอบข้อมูลการจองของตนเองให้ถี่ถ้วน และยืนยันการจองคิวเสร็จสิ้น เมื่อเสร็จแล้ว อย่าลืมบันทึกภาพหน้าจอการจองคิวเก็บไว้เป็นหลักฐาน เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในวันที่ไปทำใบขับขี่ 

ใบขับขี่มีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้รถประเภทไหน แต่ไม่ว่าจะมีรถยนต์แบบไหน ก็ควรมี CTEK ติดบ้านไว้ เพื่อดูแลแบตเตอรี่ ให้รถสตาร์ทติดทุกครั้ง มีอายุการใช้งานยาวนานและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

 

ไม่ว่ารถประเภทไหนก็ควรมีเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ CTEK


 

ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของรถ Bigbike หรือ ใช้รถสปอร์ตสุดหรู แต่หากต้องจอดทิ้งไว้ ไม่ค่อยได้ขับ เพราะสภาพการจราจรไม่เอื้ออำนวย จะได้ใช้ทีก็เป็นตอนออกทริป ทำให้มีโอกาสที่แบตเตอรี่จะเสื่อมได้ง่ายกว่ารถที่ขับทุกวัน ตัดจบปัญหาตั้งแต่ต้นด้วยเครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถ CTEK แบรนด์สวีเดน ที่ได้รับความไว้วางใจผลิตเครื่องชาร์จแบตฯ ให้กับรถยนต์ชั้นนำมากที่สุดในโลก เช่น Mercedes-Benz, Porsche, Rolls-Royce, Lamborghini, Ferrari, McLaren, Bentley, Maserati, BMW, Mini, Audi, Jaguar, Lexus, Koenigsegg, Chrysler, Jeep และอื่น ๆ อีกมากมาย

โดยรุ่นที่แนะนำคือ CTEK MXS 5.0 เครื่องชาร์จที่เหมาะกับทั้งรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้า (EV) คุณสมบัติเด่น:

- กระแสชาร์จสูงสุด 5A
- เหมาะสำหรับแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด 12V ขนาด 1.2 - 110Ah
- ใช้งานง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านช่างก็สามารถใช้งานได้
- รุ่นขายดีที่สุดในปัจจุบัน

ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของรถประเภทไหน มีใบขับขี่อะไร แต่ถ้าอยากให้แบตเตอรี่รถมีอายุใช้งานยาวนานเต็มประสิทธิภาพ สั่งซื้อ CTEK เลยวันนี้!

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้